วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านสวนพอเพียง (ศูนย์เรียนรู้ทางอาชีพเทศบาลตำบลเกาะเพชร)

วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านสวนพอเพียง (ศูนย์เรียนรู้ทางอาชีพเทศบาลตำบลเกาะเพชร)


ผลิตภัณฑ์
สถานที่ท่องเที่ยว
ชื่อวิสาหกิจวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านสวนพอเพียง (ศูนย์เรียนรู้ทางอาชีพเทศบาลตำบลเกาะเพชร)
รหัสประจำกลุ่มวิสาหกิจ-
ที่อยู่เลขที่ 169/1 หมู่ที่ 8 ถนน ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
หมายเลขโทรศัพท์-
ชื่อเจ้าของนายสุพัฒน์ แก้วเนิน,นางสาวอุบลรัตน์ ทองรัตนทอง
ชื่ออำเภออำเภอหัวไทร
บริการ
ร้านอาหาร

อาหารพื้นบ้าน"บ้านสวนพอเพียง"

ด้วยแนวคิดที่ว่า “บ้านสวนพอเพียงมิตรภาพและการแบ่งปันไม่มีวันสิ้นสุด” ทำให้เกิดการท่องเที่ยวแนวผสมผสานระหว่างเกษตรกรรมและวัฒนธรรม โดยยึดหลักการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพื้นที่ผู้ก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจ โดยในพื้นที่ดังกล่าวมีทั้งพืช ผักและผลไม้หลากหลายชนิด เช่น มะพร้าว ปาล์มกล้วยน้ำว้า รวมถึงการหาวิธีการเอาตัวรอดจากดินเค็มซึ่งพื้นที่ดังกล่าว (อ.หัวไทร) จะอยู่ติดกับทะเล ทำให้ดินในพื้นที่ดังกล่าวมีความค่อนข้างเค็ม มีสัดส่วนที่แบ่งในการเลี้ยงสัตว์ทั้งบนบก ได้แก่ แพะและหมูป่า เพื่อเพิ่มจุดสนใจในการท่องเที่ยว สัตว์ทางน้ำ เช่น ปลาดุกเผือกยักษ์ เป็นต้น เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวจะมีบางช่วงฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมขังในหลายๆ จุดในช่วงหน้าฝน เมื่อผ่านช่วงหน้าฝน ทางกลุ่มได้คิดกิจกรรมจับปลาบนโคลน(น้ำลด) ให้กลุ่มมีความแตกต่างทางซึ่งมาจากพื้นที่ ทำให้นักท่องเที่ยวได้ประสบการณ์แปลกใหม่แตกต่างจากที่อื่น และด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ทำให้ปลาในพื้นที่มีรสชาติดีแตกต่างจากที่อื่นอีกด้วย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ทำให้เกิดเป็น “ปลาสองน้ำ” นอกจากนั้นในพื้นที่ยังแฝงวัฒนธรรมทำให้เกิดการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบในพื้นที่เดียวกัน โดยกิจกรรมการท่องเที่ยวจะประกอบด้วย

1. การชมแปลงเกษตรและสวนที่ทางผู้ก่อตั้งดูแลเอง

2. การกินขนมจีน อาหารพื้นเมืองทางใต้ที่เลื่องชื่อของคนในพื้นที่

3. วัดบ้านด่าน ซึ่งช่วงเช้าจะมีกิจกรรมตักบาตรเช้าที่ท่าน้ำ โดยชุมชนบ้านด่านเดิมเป็นชุมชนเก่าแก่ที่อาศัยอยู่ริมคลองหัวไทร เดิมเรียกว่า “บางด่าน” เป็นที่มาจากลักษณะภูมิประเทศ คือ สายน้ำเล็กๆ ที่เชื่อมต่อจากลำคลอง (คลองหัวไทร-ปากพนัง-สงขลา) เรียกว่า “บาง” และเชื่อมโยงไปถึงบ้านพัทธสีมาเรียกว่า “บางพัทธสีมา” โดยผ่านสายน้ำ “บางเสือ” สาย “บางคุระ” มีความสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติตลอดลำน้ำเป็นชุมชนขนาดใหญ่และรุ่งเรืองด้วยวิถีพุทธ เนื่องจากพบรอยเศษกระเบื้อง ภาชนะที่แตกหักและร่องรอยของศาสนสถานเป็นวัดบริเวณใกล้ๆ หลายวัด เช่น วัดลาด อยู่ฝั่งตะวันออกของลำคลองหัวไทร-ปากพนัง วัดบางพูด วัดโคกอิฐ ซึ่งอยู่ทางใต้ของวัดบ้านด่าน จากคำบอกเล่าของท่านอุปัชฌาย์ซ้วน องฆรตโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านด่าน เล่าว่า วัดบ้านด่าน เป็นวัดพวกเสนาของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ท่านพระยาได้ส่งขุนนางมาตั้งด่านเก็บภาษีเรือสำเภา ตลอดถึงบ้านบางพูด บ้านสระนอก พวกขุนนางเข้ามาทำทำหน้าที่รังวัด และเก็บภาษีด่านที่ย่านสามหลักนั้น พวกพ่อค้าที่มาจากเมืองแขกได้แวะจอดทอดสมอเรือเรียงราย อยู่ในย่านนี้ทั้งสองฝั่งคลองรวมแล้วเกือบ 10 วัด แต่เมื่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ทางบ้านเมืองเขาจัดระเบียบใหม่ ฝ่ายเมืองนครศรีธรรมราชเราก็ได้เสื่อมอำนาจลง พวกเมืองแขกทางใต้เขาไม่ค่อยไปมาหาสู่กันเหมือนเมื่อก่อน เพราะเขาตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่ง (อังกฤษ) ชุมชนวัดบ้านด่านจึงหมดหน้าที่ของความเป็นด่านเหลือร่องรอยคือวัดและชุมชน

4. ประเพณีแข่งเรือเพรียว ทุก 15 ค่ำ เดือน 12 ณ คลองหน้าวัดบ้านด่าน เป็นการแข่งขันเรือเพรียวของชุมชนบ้านด่านนั้น เริ่มต้นขึ้นในสมัยพ่อท่านซ้วน เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านด่าน โดยเริ่มแรกนั้นการแข่งขันเรือเพรียวจะมีเรืออยู่สองลำ คือ เรือเจ้าพายุหวนและเจ้าแม่แสงอุทัย จนจบการแข่งขันเรือเพรียวและมีการริเริ่มการแข่งขันเรือเพรียวขึ้นมาอีกครั้งโดย พระครูสังฆรักษ์สมเกียรติ กิตตติปญโญ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน มีการจัดการแข่งขันเรือเพรียวมาแล้ว 7 ปีจนถึงปัจจุบัน โดยจะมีการจัดแข่งขันขึ้นทุก ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ณ คลองหน้าวัดบ้านด่าน

5. บ้านรูปหนังตะลุงน้องใบตอง ด้วยทวดของน้องใบตองเป็นนายหนังตะลุงชื่อดังของนครศรีธรรมราช หนังประทิ่น บัวทอง เสียชีวิตไปหลายปีก่อนน้องใบตองเกิด ทวดเป็นนายหนังตะลุง ไม่ได้เป็นช่างแกะรูปหนังตะลุง ลูกๆ ของทวดและรุ่นพ่อแม่ของน้องใบตองก็ไม่มีใครแกะรูปหนัง ยกเว้นคุณย่าคนเดียว คุณย่าเป็นครูและสนใจงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ จึงเรียนรู้ด้วยตัวเองจนเชี่ยวชาญถึงขั้นเป็นวิทยากรประจำตำบล น้องใบตองสนิทกับย่าและเริ่มฝึกแกะรูปหนังมาตั้งแต่ชั้น ป.1 จนตอนนี้น้องใบตองมีความถนัดและแกะตัวหนังตะลุงได้อย่างชำนาญ และได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรของตำบลท่าซอม อ.หัวไทร บ้านเกิดอีกด้วย

 

6. กลุ่มหัตถกรรมจากไม้และกะลามะพร้าว ไอเดียเริ่มแรกที่ได้คิดผลิตภัณฑ์ตัวนี้ ขึ้นมาก็คือ เล็งเห็นว่าปัจจุบันแถวบ้าน มะพร้าวมีราคาตกต่ำ ถูกลงจากเดิมมากและทุกบ้านต่างก็ปลูกมะพร้าวกันเกือบทั้งหมดและมะพร้าวยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์เกือบทุกส่วน จึงเกิดไอเดียอยากทำผลิตภัณฑ์ที่มาจากมะพร้าว แรกๆ ก็ทำเล่นๆ เป็นถ้วย เป็นกระถางต้นไม้ และพัฒนาเป็นชุดกาแกเพราะมีความใฝ่ฝันจะเปิดร้านกาแกที่แตกต่างจากคนอื่นและคนส่วนใหญ่ก็นิยมบริโภคชา กาแฟกัน และยิ่งตอนนี้คนนิยมใช้สิ่งของแปลกใหม่ขึ้น จึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชุดแก้วกาแฟจากกะลาและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งจากบุคคลทั่วไป สถานที่ทำงาน รวมถึงโฮมสเตย์ที่ใช้ชุดแก้วกาแฟในการต้อนรับลูกค้า สร้างความแปลกใหม่ดึงดูดลูกค้าที่มาเยี่ยมชม เพื่อซื้อของฝาก ของที่ระลึก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้มะพร้าวอีกด้วย


-


Google Maps Generator by embedgooglemap.net